จับกริบให้เหมาะกับงาน

การจับกริพพัตต์จะแตกต่างไปจากการจับกริพเพื่อการสวิงหรือการเล่นลูกสั้นในรูปแบบอื่นๆอย่างสิ้นเชิง ข้อแตกต่างจะอยู่ที่กริพมือซ้าย ในการจับกริพเพื่อการสวิงหรือการเล่นลูกสั้น ไม่ว่าจะเป็นการจับแบบ OVER-LAP (นิ้วก้อยมือขวาทับอยู่ระหว่างนิ้วชี้กับนิ้วกลางของมือซ้าย) หรือ Inter-Lock (นิ้วก้อยมือขวาเกี่ยวกับนิ้วชี้มือซ้าย) ด้ามกริพจะพาดค่อนไปทางนิ้วมือ เมื่อรวบนิ้วเข้ากับด้ามกริพ ฐานของฝ่ามือจะพับอยู่ที่ด้านบนของด้ามกริพ การจับกริพแบบนี้จะช่วยให้ข้อมือหักขึ้นและคลายออกได้สะดวกเพื่อสร้างสปีดในการสวิง หรือเพื่อการขึ้นไม้ในมุมชันในการเล่นลูกสั้นในรูปแบบต่างๆ

สำหรับการพัตต์อย่างมีประสิทธิ์ภาพเกิดขึ้นจากการเคลื่อนตัวขึ้นและลงของไหล่ ด้วยแขนและข้อมือที่อยู่ในสภาพมั่นคงขณะสวิง เพื่อการนี้ให้พาดไม้พัตต์ลงที่”เส้นชีวิต” ที่ทะแยงขวางกลางฝ่ามือ

รวบนิ้วเข้ากับด้ามกริพและวางนิ้วโป้งที่ด้านบนของกริพและขี้ปลายนิ้วลงตามแนวของก้านไม้ ยกนิ้วชี้ซ้ายขึ้นและรวบนิ้วมือขวาเข้ากับด้ามกริพโดยให้ฝ่ามือขวาหันตรงเข้าหาฝ่ามือซ้าย วางนิ้วโป้งขวาให้เป็นแนวเส้นตรงเดียวกันกับนิ้วโป้งซ้าย ทาบนิ้วชี้ซ้ายบนนิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อยของมือซ้าย บีบด้ามกริพให้กระชับแต่ผ่อนคลาย นักกอล์ฟจะรู้สึกว่าข้อมือทั้งสองข้างอยู่ในสภาพมั่นคง ซึ่งจะทำให้แขนและไม้พัตต์เคลื่อนที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อการควบคุมหน้าไม้พัตต์และน้ำหนักการพัตต์ได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ

#สอนกอล์ฟ, #กอล์ฟคลีนิก, #กอล์ฟทิฟ, #เทคนิคกอล์ฟ, #วิธีฝึกพัตต์ระยะสั้น, #จับกริบ

Comments

comments

สิทธิศักดิ์ นันทเทิม
สิทธิศักดิ์ นันทเทิม
// พ.ศ. 2533-ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ การสอน THAI INTERNATIONAL GOLF TEACHING ACADEMY // พ.ศ. 2533-ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งบรรณาธิการด้านเทคนิค หนังสือพิมพ์ GOLF TIME