การแก้ไขลูกฮุคและลูกดันขวา

PUSH HOOK AND PUSH

อาการ

– ตีลูกพุ่งไปทางด้านขวาของเป้าหมายแล้วม้วนหักเข้าด้านซ้าย

– ตีลูกพุ่งตรงๆ ไปทางด้านขวา

– หัวไม้ตีถูกพื้นก่อนถูกลูกกอล์ฟ

– ตีได้ระยะไกลแต่ไม่ได้ทิศทาง

 

สาเหตุ

แนวการสวิงของหัวไม้ที่สวิงดันจากด้านในออกด้านนอกเส้นเป้าหมาย (IN-TO-OUT) คือ ต้นเหตุของการตีลูกฮุคและลูกดันขวา ส่วนลูกที่ตีจะพุ่งตรงไปทางขวา หรือเลี้ยวเข้าด้านซ้ายนั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งของหน้าไม้ขณะกระทบลูก

 

 

หาก หน้าไม้อยู่ในตำแหน่งปิดกับแนวการสวิง ลูกที่ตีจะพุ่งไปทางขวาแล้วม้วนหักเข้าด้านซ้าย (รูป 1) หากหน้าไม้อยู่ในตำแหน่งสแควร์กับแนวการสวิง ลูกที่ตีจะพุ่งตรงๆ ไปทางขวาของเป้าหมาย (รูป 2)

 

และหากหน้าไม้อยู่ในตำแหน่ง เปิดกับแนวการสวิง ลูกที่ตีจะพุ่งตรงไปทางขวาของเป้าหมายแล้วเลี้ยวออกขวามากขึ้น แต่อาการนี้จะเกิดขึ้นได้ยากกว่า 2 กรณีแรก เนื่องจากนักกอล์ฟที่มีปัญหาตีลูกฮุคส่วนใหญ่จะจับสตรองกริพและเป็นนักกอล์ฟ ฝีมือดีที่มีความชำนาญในการพลิกหน้าไม้ให้กลับมาอยู่ในตำแหน่งสแควร์หรือ ตำแหน่งปิดที่จุดกระทบได้ทัน ผนวกกับหัวไม้เกือบทุกรุ่นในท้องตลาดจะทำหน้าไม้ให้อยู่ในตำแหน่งปิด เพื่อช่วยนักกอล์ฟที่ตีลูกสไลซ์ จึงทำให้หน้าไม้กระทบลูกในตำแหน่งเปิดได้ยาก

 

 

เนื่อง จากการสวิงไม้ในแนวดันจากด้านในออกด้านนอกเส้นเป้าหมาย มีผลข้างเคียงให้หัวไม้สวิงในมุมเสยขึ้น จึงทำให้จุดต่ำสุดของวงสวิงอยู่ที่ด้านหลังลูกกอล์ฟ เป็นเหตุให้หัวไม้มีโอกาสตีถูกพื้นก่อนถูกลูกกอล์ฟ หรือไม่ก็สวิงหัวไม้ในมุมเสยขึ้นถูกหัวลูกกอล์ฟ แนวและมุมการสวิงแบบนี้จะทำให้ตีหัวไม้ 1 ให้ได้ระยะไกล แต่ลูกที่ตีจะพุ่งโด่งมากไปทางขวาหากหน้าไม้อยู่ในตำแหน่งสแควร์กับแนวการส วิง หรือไม่ก็ตีลูกฮุคม้วนเข้าด้านซ้ายหากหัวไม้อยู่ในตำแหน่งปิดที่จุดกระทบ

 

แนวทางการแก้ไข

แนว ทางการแก้ไขลูกฮุคและลูกดันขวาคือ การแก้ไขแนวการสวิงของหัวไม้ที่ดันจากด้านในออกด้านนอกเส้นเป้าหมายให้กลาย มาเป็นแนวสแควร์ ซึ่งจะมีผลข้างเคียงให้หัวไม้กอล์ฟสวิงเข้าหาลูกกอล์ฟในมุมกวาดได้ตาม ธรรมชาติ หลังจากนั้นจึงทำการแก้ไขให้ตีถูกกลางหน้าไม้ด้วยหน้าไม้ที่อยู่ในตำแห น่งสแควร์เพื่อตีลูกให้ตรงเข้าหาเป้าหมาย

 

ขั้นตอนการแก้ไข

1 จับกริพให้เป็นกลางค่อนไปทางวีค (WEAK)

การจับสตรองกริพด้วยมือซ้ายที่คว่ำมากจนเห็นข้อนิ้วบนหลังมือซ้าย 4 ข้อ ฝ่ามือขวาหงายขึ้นฟ้า รูปตัว “V” กลับหัวที่โคนนิ้วชี้และโคนนิ้วโป้งชี้ไปที่ด้านนอกไหล่ขวา เมื่อสวิงมือกลับมากระทบลูกในตำแหน่งที่เป็นกลางโดยเห็นข้อนิ้วบนหลังมือ ซ้าย 2 1/2 ข้อ หน้าไม้จะอยู่ในตำแหน่งปิด มีผลให้ตีลูกเลี้ยวเข้าด้านซ้าย นอกจากนั้นการจับสตรองกริพจะบังคับให้หัวไม้สวิงตวัดเข้าด้านในเส้นเป้าหมาย ทำให้แขนอยู่ในระดับต่ำด้วยหน้าไม้ที่อยู่ในตำแหน่งปิดที่จุดสูงสุด และสวิงไม้กลับลงหาลูกกอล์ฟในแนวเดิมคือ จากด้านในออกด้านนอกเส้นเป้าหมาย

เพื่อการแก้ไขอาการตีลูกฮุค ขอให้เริ่มด้วยการจับกริพให้สแควร์ค่อนไปทางวีค โดยเห็นข้อนิ้วบนหลังมือซ้าย 2 ข้อ จับกริพมือขวาให้ฝ่ามือหันเข้าหาฝ่ามือซ้ายเหมือนท่าปรบมือ รูปตัว “V” กลับหัวที่โคนนิ้วชี้และโคนนิ้วโป้งชี้ไปที่ตาขวา การจับกริพให้เป็นกลางค่อนไปทางวีคจะช่วยให้สามารถขึ้นไม้ในแนวที่ดีขึ้น และช่วยแก้ไขอาการหน้าไม้ปิดที่จุดสูงสุดและที่จุดกระทบซึ่งเป็นสาเหตุหลัก ของการตีลูกฮุค

หมายเหตุ

นักกอล์ฟส่วนใหญ่มักขยับมือกลับไปจับกริพแบบเดิม ที่เคยถนัดโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นจึงขอให้ก้มลงตรวจสอบกริพให้ถูกต้องอีกครั้งก่อนลากไม้ขั้นให้เป็น กิจวัตร

 

2 ปักทีให้ต่ำลง

 

 

ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่าการสวิงไม้ด้วยแนวที่ดันจากด้านในออกด้านนอก เส้นเป้าหมายจะมีผลต่อเนื่องให้จุดต่ำสุดของวงสวิงอยู่ที่ด้านหลังลูกกอล์ฟ ดังนั้นนักกอล์ฟที่มีปัญหาตีลูกฮุคจึงมักปักทีให้ลูกอยู่ในระดับสูงกว่าปกติ (รูป 1) เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้หัวไม้ตีถูกพื้นก่อนถูกลูกกอล์ฟ หรือสวิงหัวไม้เสยขึ้นโดนที่หัวลูก

เพื่อการแก้ไข ขอให้ปักทีให้ต่ำลงโดยให้ 1/2 ส่วนของลูกกอล์ฟอยู่เหนือด้านบนของหัวไม้กอล์ฟ (รูป 2) เพื่อเป็นการบังคับให้สวิงหัวไม้ลงหาลูกกอล์ฟในมุมที่ชันขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้หัวไม้สวิงดันจากด้านในได้น้อยลงได้โดยอัตโนมัติ และหากท่านสวิงหัวไม้ถูกพื้นก่อนถูกลูกกอล์ฟ หรือสวิงหัวไม้เสยขึ้นถูกที่หัวลูก ก็จะเป็นการฟ้องว่าท่านยังคงสวิงไม้ในแนวดันจากด้านในออกด้านนอกเส้นเป้า หมาย ซึ่งต้องกลับไปแก้ไขที่แนวการสวิงให้ถูกต้อง

3 ยืนเปิด ลูกค่อนซ้าย

เพื่อ เป็นการชดเชยแนวการสวิงที่ดันจากด้านในออกด้านนอกเส้นเป้าหมายให้กลายมาเป็น แนวสแควร์เข้าหาลูกกอล์ฟในมุมกวาด ขอให้ยืนให้เส้นที่ลากผ่านปลายเท้าและแนวของไหล่อยู่ในตำแหน่งเปิดไปทางซ้าย ราว 11.30 นาฬิกา (รูป 1) ตำแหน่งของลูกกอล์ฟอยู่ตรงกับกลางฝ่าเท้าซ้าย มืออยู่ตรงกับหัวไม้ แขนขวาเหยียดตรงอย่างผ่อนคลาย และเอียงตัวไปทางด้านขวาเพียงเล็กน้อย (รูป 2)

 

4 ซ้อมสวิงลม

สวิงคร่อมจากด้านนอกเข้าด้านใน-เปิดหน้าไม้ผ่านจุดกระทบ

หลัง จากการเตรียมตัวเพื่อชดเชยไม่ให้หัวไม้สวิงดันมาจากด้านในเส้นเป้าหมายอย่าง ถูกต้องแล้ว ให้วางที่ครอบหัวไม้ที่ด้านหลังลูกกอล์ฟราว 6 นิ้ว และห่างจากโคนไม้ราว 2 นิ้ว (รูป 1) แล้วซ้อมสวิงลมด้วยความรู้สึกเหมือนการตีลูกให้สไลซ์ นั่นคือ การสวิงหัวไม้ให้คร่อมจากด้านนอกเข้าด้านในเส้นเป้าหมายโดยไม่ให้ถูกที่ครอบ หัวไม้ พร้อมกับเปิดหน้าไม้ผ่านจุดกระทบเพื่อตีลูกให้พุ่งไปทางซ้ายของเป้าหมายแล้ว เลี้ยวออกทางด้านขวา (รูป 2) เป็นการทำให้เกินในทางตรงกันข้ามเพื่อให้เป็นการบวกลบกับข้อผิดพลาดเดิมคือ การสวิงไม้ดันจากด้านในออกด้านนอกเส้นเป้าหมายเข้ากระทบลูกด้วยหน้าไม้ที่ อยู่ในตำแหน่งปิด ตีลูกพุ่งไปทางขวาของเป้าหมายแล้วเลี้ยวเข้าด้านซ้าย หากท่านสามารถสวิงลมโดยไม่โดนที่ครอบหัวไม้ได้ แสดงว่าท่านได้แก้ไขอาการสวิงหัวไม้ดันจากด้านในออกด้านนอกได้อย่างถูกต้อง

 

5 ตีลูก

หลัง จากได้เตรียมตัวและซ้อมสวิงลมอย่างถูกต้องแล้ว ก่อนตีลูกจริงให้สวิงลมด้วยความรู้สึกของการตีลูกให้สไลซ์ 1-2 ครั้ง เพื่อทบทวนความรู้สึกแล้วตีลูก หากลูกที่ตีพุ่งตรงเข้าหาเป้าหมายในช่วงแรกแต่ยังคงเลี้ยวเข้าซ้ายในช่วง ปลาย ขั้นตอนต่อมาคือ การตรวจสอบว่าท่านตีถูกที่กลางหน้าไม้หรือไม่

 

6 ตีให้ถูกกลางหน้าไม้

หาก ท่านสามารถสวิงหัวไม้ลงมาตีลูกโดยไม่โดนที่ครอบหัวไม้ และลูกที่ตีพุ่งตรงเข้าหาเป้าหมายในช่วง 100 หลาแรก แสดงว่าท่านได้แก้ไขอาการสวิงไม้ดันจากด้านในออกด้านนอกเส้นเป้าหมายซึ่ง เป็นต้นเหตุของการตีลูกฮุคและลูกดันขวาได้ถูกทาง แต่การที่ลูกยังเลี้ยวซ้ายอาจเป็นเพราะตีโดนที่ปลายไม้ หรือตีลูกด้วยหน้าไม้ที่อยู่ในตำแหน่งปิดที่จุดกระทบ

ตามที่ได้กล่าว มาแล้วข้างต้นว่า เราจำเป็นต้องตีให้ถูกกลางหน้าไม้ก่อนการปรับหน้าไม้ให้สแควร์ ดังนั้นจึงขอให้ตรวจสอบว่าท่านตีถูกที่กลางหน้าไม้หรือไม่ด้วยการดูจากรอย ที่ไม้กระทบลูก หาก

มองเห็นรอยไม่ชัดให้ใช้เทปแปะที่หน้าไม้หรือใช้ แป้งทาที่หน้าไม้ ซึ่งจะช่วยให้เห็นรอยกระทบได้อย่างชัดเจน และหากพบว่าท่านตีโดนที่ปลายไม้ซึ่งเป็นสาเหตุให้ตีลูกพุ่งออกจากหน้าไม้ทาง ขวาของเป้า

หมายแล้วเลี้ยวหักเข้าด้านซ้าย วิธีแก้ไขคือ การยืนให้ใกล้ลูกกอล์ฟมากขึ้นเรื่อยๆ จนเจอตำแหน่งของการยืนที่ทำให้ตีถูกที่กลางหน้าไม้พอดี และนั่นคือ ตำแหน่งของการยืนที่เหมาะสมกับวงสวิงของท่าน

หากท่านสวิงหัวไม้ในแนว ที่ถูกต้องเข้าตีโดนกลางหน้าไม้ แต่ลูกยังคงเลี้ยวซ้ายแสดงว่าหน้าไม้อยู่ในตำแหน่งปิดที่จุดกระทบ และขั้นตอนต่อไปคือ การสวิงหน้าไม้ให้กลับมากระทบลูกในตำแหน่งสแควร์ตามแบบฝึกหัดต่อไปนี้

 

7 เปิดหน้าไม้ผ่านจุดกระทบ

แบบฝึกหัดที่ 1 จบวงให้หน้าไม้หงายขึ้น

จาก แนวการสวิงเดิมที่ดันจากด้านในออกด้านนอกเส้นเป้าหมาย ทำให้ท่านต้องพยายามปิดหน้าไม้ให้เร็ว เพื่อป้องกันไม่ให้ตีลูกดันหลุดไปทางขวา แต่หลังจากท่านได้แก้ไขแนวที่ดันให้กลายมาเป็นแนวสแควร์แล้วยังพยายามปิด หน้าไม้เร็วเหมือนเดิม ลูกที่ตีก็จะพุ่งตรงเข้าหาเป้าหมายในช่วงแรก แล้วเลี้ยวหักเข้าด้านซ้ายอย่างแรง

ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำในอันดับต่อมาคือ การทำในทางตรงข้ามด้วยการเปิดหน้าไม้ผ่านจุดกระทบ

1 ซ้อมสวิงลมด้วยการขึ้นไม้ตามปกติ (รูป 1)

2 สวิงไม้ผ่านจุดกระทบมาจบ 3/4 วงสวิงด้วยแขนทั้งสองข้างที่เหยียดตรงด้วยหน้าไม้ที่หงายขึ้นฟ้า (รูป 2)

3 เมื่อซ้อมสวิงลมจนเกิดความชำนาญ ให้ตีลูกจริงด้วยความรู้สึกเดียวกันไปจนจบวงสวิง

 

แบบฝึกหัดที่ 2 ชิพให้สไลซ์

เพื่อ การแก้ไขอาการตีลูกฮูคเนื่องจากการตีลูกด้วยหน้าไม้ที่อยู่ในตำแหน่งปิดที่ จุดกระทบ ขอให้ทำให้เกินในทางตรงข้ามโดยตั้งใจชิพลูกให้เลี้ยวออกทางด้านขวาโดย

1 ยืนจดลูกด้วยท่ายืนปกติ

2 ขึ้นไม้ 1/3 วงสวิงให้ก้านไม้ขนานกับพื้น

3 ชิพลูกเบาๆ ด้วยฝ่ามือขวาที่หงายอยู่ใต้ฝ่ามือซ้ายเข้าตีลูกด้วยหน้าไม้ที่อยู่ในตำแหน่งเปิดให้ลูกเลี้ยวออกทางขวาให้มากที่สุด

4 เมื่อสามารถชิพลูกให้เลี้ยวออกทางด้านขวาให้ติดๆ กัน 3 ลูกให้ตีเต็มวงด้วยความรู้สึกเดียวกัน

 

หาก ทำทั้งสองแบบฝึกหัดข้างต้นแล้วปรากฎว่าท่านตีลูกเลี้ยวออกด้านขวาได้อย่าง สม่ำเสมอแสดงว่าท่านได้แก้ไขอาการตีลูกด้วยหน้าไม้ที่อยู่ในตำแหน่งปิดผ่าน จุดกระทบได้อย่างถูกต้องแล้ว แต่ได้เปิดหน้าไม้มากเกินไป และสิ่งที่ต้องทำในอันดับต่อมาคือ การหาไทมิ่งเพื่อปิดหน้าไม้ให้กลับมากระทบลูกในตำแหน่งสแควร์จนสามารถตีลูก ตรงเข้าหาเป้าหมาย

 

 

สรุปย่อ

เซท-อัพ

1 ปักทีให้ต่ำลงโดยให้ 1/2 ส่วนของลูกกอล์ฟอยู่เหนือหัวไม้

2 จับกริพให้เป็นกลางค่อนไปทางวีค (ดูหน้า 36 คลิ๊ก.. )

3 ยืนเปิดราว 11.30 นาฬิกา

4 ลูกกอล์ฟอยู่ตรงกับกลางฝ่าเท้าซ้าย

5 มืออยู่ตรงกับหัวไม้กอล์ฟ

6 ข้อศอกขวาเหยียดตรง

7 เอียงลำตัวช่วงบนไปทางขวาเพียงเล็กน้อย

 

สวิง

1 วางที่ครอบหัวไม้ด้านหลังลูกกอล์ฟ 6 นิ้ว และห่างจากโคนไม้ 2 นิ้ว (รูป 1)

2 ซ้อมสวิงลมด้วยความรู้สึกของการสวิงหัวไม้ให้คร่อมจากด้านนอกเข้าด้านในเส้น เป้าหมายผ่านที่ครอบหัวไม้และเปิดหน้าไม้ผ่านจุดกระทบ (รูป 2)

3 หากหัวไม้สวิงผ่านที่ครอบหัวไม้ได้ แต่ลูกที่ตียังคงเลี้ยวซ้าย ให้ตรวจสอบว่าตีถูกปลายไม้หรือไม่ หากพบว่าตีถูกปลายไม้ ให้ยืนใกล้ลูกมากขึ้นเรื่อยๆ ให้ลูกค่อนไปทางโคนไม้จนตีถูกกลางหน้าไม้

4 หากตีถูกกลางหน้าไม้แล้วลูกยังเลี้ยวซ้าย ให้ฝึกปิดหน้าไม้ให้ช้าลงโดยทำแบบฝึกหัด จบวงให้หน้าไม้หงายขึ้น (หน้า 41 คลิ๊ก.. ) หน้าแบบฝึกหัด ชิพให้สไลซ์ (หน้า 42 คลิ๊ก..)

 

หลัง จากที่ได้ทำการแก้ไขปัญหาการตีลูกสไลซ์-รวบซ้าย หรือลูกฮุค-ดันขวาจนประสบความสำเร็จก็เท่ากับท่านได้ยืดลูกที่เลี้ยวโค้งและ ลูกที่พุ่งออกทางด้านข้างให้กลายเป็นลูกตรงที่เหยียดไปทาง

ด้านหน้า ตามแนวของแฟร์เวย์ ซึ่งแน่นอนว่ามันจะช่วยให้ท่านตีลูกได้ไกลขึ้นทันตาโดยไม่ต้องออกแรงเพิ่ม และหากท่านสามารถตีคุมให้ลูกอยู่ในแฟร์เวย์ได้อย่างสม่ำเสมอจนเกิดความมั่น ใจ ท่านจะกล้าตีใส่

ให้แรงขึ้นและตีได้ระยะไกลขึ้นอีกระดับจนเป็นที่ น่าพอใจ ซึ่งอาจเป็นการเพียงพอสำหรับนักกอล์ฟสมัครเล่นทั่วไปที่เล่นกอล์ฟแบบเฮฮา เพื่อการออกกำลังกาย หรือเพื่อเข้าสังคม แต่สำหรับนักกอล์ฟแนว

ฮาร์ดคอร์ที่ต้องการตีหัวไม้ 1 ให้ได้ระยะไกลสูงสุดเต็มศักยภาพ ขอให้ศึกษาในรายละเอียดของบทต่อไป

Comments

comments

สิทธิศักดิ์ นันทเทิม
สิทธิศักดิ์ นันทเทิม
// พ.ศ. 2533-ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ การสอน THAI INTERNATIONAL GOLF TEACHING ACADEMY // พ.ศ. 2533-ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งบรรณาธิการด้านเทคนิค หนังสือพิมพ์ GOLF TIME